๑.ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
๒.ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
๓.ลักษณะคำประพันธ์
หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
๑.หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ.ศ.ไว้
๒.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “พ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
บทวิเคราะห์
1.ตัวละคร
ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดและสารต่างๆ โดยเสนอผ่านมุมมองของประพันธ์ซึ่งเป็นผู้เล่าเรื่องและตัวละครเหล่านี้ ทำให้เรารู้จักตัวละครอย่างลึกซึ้ง
2. ฉาก
ในเรื่องนี้เป็นสมัยที่คนไทยโดยเฉพาะคนชั้นสูงเพิ่งได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตกใหม่ สภาพบ้านเมืองมีความเจริญแบบชาวตะวันตก
3.กลวิธีการแต่ง
หัวใจของชายหนุ่ม เป็นนวนิยายขนาดสั้น นำเสนอในรูปแบบของจดหมาย
4. คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
4.1 เป็นรอยต่อวัฒนธรรม
4.2 ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
4.3 อย่าลืมตัว
4.4 การศึกษาดีช่วยให้ความคิดดี
4.5 การมีภรรยาคนเดียว
5 คุณค่าด้านความรู้
นวนิยายเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้หญิง เริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน และเราจากสังคมชั้นสูง